
การลงทุนอย่างยั่งยืน: พัฒนาการของโลกและตลาดทุนไทย
ความเป็นมา
ปัญหาต่างๆที่ทวีความรุนแรงขึ้นในระดับโลก โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลกทำให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน
ผู้จัดการกองทุนเองก็ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นถึงบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านกลไกการลงทุน ที่สามารถนำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และ ผลตอบแทนไปพร้อมๆกัน ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้จัดการกองทุนเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน แต่นักลงทุนรายย่อยที่ประสงค์จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมๆกัน การลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing – SRI) จึงกลายเป็นรูปแบบการลงทุนที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทั่วทุกภูมิภาคของโลก
โดย ณ สิ้นปี 2016 การลงทุนอย่างยั่งยืนมีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 26 ของมูลค่าการลงทุนทั่วโลก เติบโตขึ้นจากปี 2014 ถึงร้อยละ 25 ซึ่งรวมทั้งการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันขีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กองทุนรวมที่มีลูกค้าเป็นรายย่อย การลงทุนอย่างยั่งยืนนับว่าเป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญในโลกของการลงทุน โดยมียุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นสหรัฐเมริกา และแคนาดาตามลำดับ และในภูมิภาคเอเชียก็มีประเทศญี่ปุ่นที่กองทุนประเภทนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิและการเติบโตของการลงทุนอย่างยั่งยืน
อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี






ที่มา: Global Sustainability Investment Report 2016
การกระจายตัวของการลงทุนอย่างยั่งยืน
ที่มา: Global Sustainability Investment Report 2016
หลักการของการลงทุนอย่างยั่งยืนจะพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลักๆ 3 ด้านนอกเหนือจากปัจจัยด้านการเงิน ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือที่เรียกรวมกันว่า ESG เป็นหลัก โดยมีกลยุทธ์ การลงทุนหลายรูปแบบได้แก่
1. Negative/exclusionary screening ผู้จัดการกองทุนจะคัดเลือกหลักทรัพย์ออกจากพอร์ท หากพบว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้นไม่ปฎิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ESG อาทิ เลือกที่จะไม่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน เป็นต้น
2. Positive/best-in-class screening เน้นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคะแนนการปฎิบัติด้าน ESG สูงๆเมื่อเทียบกับหลักทรัพย์อื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
3. Norm-based screening เลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการปฎิบัติเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำของ ESG ในระดับสากล
4. Integration of ESG factors การประเมินและวิเคราะห์หลักทรัพย์อย่างเป็นระบบของผู้จัดการกองทุนโดยนำเอาผลการดำเนินงานด้าน ESG ไปวิเคราะห์ควบคู่กับผลการดำเนินงานด้านการเงินของหลักทรัพย์
5. Sustainability Investing เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการประกอบธุรกิจเพื่อความยั่งยืนเป็นการเฉพาะ อาทิ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม การเกษตรอย่างยั่งยืน ธุรกิจเพื่อสังคม เป็นต้น
6. Impact/community investing การลงทุนเฉพาะเจาะจงที่จัดตั้งเป็นโครงการขึ้นมาเพื่อจัดการหรือแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชม หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่เดิมไม่เคยได้รับการแก้ไขเยียวยามาก่อน และเงินทุนก็จะถูกระดมมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
7. Corporate engagement and shareholder action การใช้พลังของผู้ถือหุ้นโดยตรงเพื่อการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างของบริษัท อาทิ การสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง กรรมการ การยื่นข้อเสนอแนะ การรวมตัวกันยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท และการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน ESG
ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะเป็นแบบ negative/exclusionary screening ($15.2 trillion) รองลงมาเป็น ESG integration ($ 10.37 trillion) และ corporate engagement/shareholder action ($8.37 trillion) สำหรับหลักทรัพย์ที่ผู้จัดการกองทุนเลือกลงทุนนั้นสามารถเป็นได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ (มีการออกตราสารหนี้ที่เรียกว่า Green Bonds โดยในยุโรปและแคนาดามีสัดส่วนตราสารหนี้ถึง 63%) อสังหาริมทรัพย์ การลงทุนผ่าน Private Equity หรือ Venture Capital
ประเทศไทยและการลงทุนอย่างยั่งยืน
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในประเทศไทยเริ่มมีการเสนอขายกองทุนรวมที่มีกับแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนบ้างแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้จัดการกองทุนใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ negative/exclusionary screening อาทิ กองทุนรวมบรรษัทภิบาล กองทุนรวมอิสลามิกฟันด์ กองทุนคุณธรรม กองทุนรวมคนไทยใจดี กองทุน ESG เพื่อสังคมจำนวนรวม 11 กองทุน เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะคัดเลือกหลักทรัพย์ที่มี ESG ในการดำเนินงานแล้ว บางกองทุนยังมีการจัดสรรเงินที่ได้รับจากค่าธรรมเนียมการจัดการส่วนหนึ่งไปช่วยสนับสนุนโครงการหรือหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนในการพัฒนาสังคมหรือแก้ไขปัญหาต่างๆอีกด้วย ตัวอย่าง กองทุนรวม ESG เพื่อสังคมของบลจ.ทิสโก้ได้มีการนำเงินค่าธรรมเนียมการจัดการไปบริจาคในกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆของมูลนิธิทิสโก้ กองทุนรวมคนไทยใจดีของบลจ.บัวหลวง มีการบริจาคเงินสนับสนุนโคตรการเพื่อสังคมที่ดำเนินงานโดยภาคประชาคม ทั้งทางด้านการศึกษา พัฒนาเยาวชน ส่งเสริมสุขอนามัย พัฒนาอาชีพ ต่อต้านยาเสพติด ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น ช่วยเหลือคนพิการ เป็นต้น
ก้าวสำคัญของกองทุนรวมไทยในการลงทุนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 บริษัทจัดการลงทุน 11 บริษัทซึ่งมีขนาดกองทุนภายใต้การบริหารกว่า 90% จากทั้งหมด 23 บริษัท ได้รวมตัวกันประกาศเจตนารมณ์จัดตั้ง “กองทุนรวมธรรมภิบาลไทย” เตรียมจัดตั้งกองทุนรวมหุ้นเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่มีธรรมภิบาล ส่งเสริมการทำธุรกิจที่คำนึงถึงการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อมการมีธรรมาภิบาลที่ดี โดยมีแนวคิดเพื่อหาทุนสนับสนุนการดำเนินงานของภาคประชาชนที่เกี่ยวกับธรรมภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญและเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น รณรงค์ให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) และแก้ปัญหาธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชั่นในธุรกิจตลาดทุน โดยบลจ.ต่างๆจะบริหารกองทุนโดยอิสระ และจะแบ่งเงินรายได้จากการบริหารกองทุนคิดเป็นร้อยละ 40 ไปสนับสนุนงานต่อต้านคอร์รัปชั่นและสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทยที่ดำเนินการโดยภาคประชาสังคม ส่วนกำไรจากผลประกอบการจะถูกปันผลให้แก่ผู้ลงทุนเหมือนเช่นที่ปฏิบัติโดยทั่วไป โดยคาดหวังว่ากองทุนรวมธรรมาภิบาลไทยและเป็นแรงจูงใจให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีการบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาลและตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม เกิดค่านิยมและวัฒนธรรมการทำการค้าที่ซื่อสัตย์ ไม่ร่วมมือกับคนโกงและไม่ยอมให้ใครโกง เป็นแหล่งทุนสนับสนุน
การดำเนินงานของภาคประชาสังคม
ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง และเป็นอิสระ ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็มีทางเลือกในการลงทุนเพื่อให้ได้ทั้งผลตอบแทนและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีไปพร้อมๆกันทั้งนี้บลจ.ที่จะเริ่มเสนอขายกองทุนรวมบรรษัทภิบาลไทย ในไตรมาสที่สามที่จะถึงนี้ประกอบด้วย